สิทธิประโยชน์บุคลากร

    สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ ค่าตอบแทนที่ข้าราชการได้รับจากทางราชการ นอกเหนือจากเงินเดือนซึ่งเป็นการตอบแทนให้ตามค่าของงานในแต่ละตำแหน่งแล้ว ยังมีสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ อีกด้วย โดยสวัสดิการเป็นการให้ค่าตอบแทนเพื่อช่วยให้ข้าราชการมีความรู้สึกสะดวกสบายและมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ส่วนประโยชน์เกื้อกูลนั้น เป็นการให้ค่าตอบแทนเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยทั้งสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล ตลอดจนจูงใจให้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามารับราชการและรักษาบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ในระบบราชการ

สวัสดิการ

    สวัสดิการ คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ราชการในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กร เพื่อช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล โดยสวัสดิการของข้าราชการพลเรือนสามัญมีทั้งที่กำหนดให้เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ดังนี้
1. การลา
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
2.เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
3. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544
5. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 – 2566
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564

ประโยชน์เกื้อกูล

    ประโยชน์เกื้อกูล คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ข้าราชการ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล ได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. ค่าเช่าบ้าน
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐
4. รถราชการ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. โทรศัพท์ของทางราชการที่อนุมัติให้ใช้เป็นรายบุคคล

ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ

1. กรณีเกษียณอายุ (อายุ 60 ปีบริบูรณ์)
2. กรณีลาออก ดังนี้
    2.1 เหตุสูงอายุ อายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือ
    2.2 เหตุรับราชการนาน มีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับมี 8 ข้อ ดังนี้

1. เงินบำนาญ

    เงินบำนาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. และผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. ดังนี้
เงินบำเหน็จบำนาญ สมาชิก กบข.
เงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
เงินบำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน X เวลาราชการ หาร 50 * เศษเดือนเศษวันเป็นจุดทศนิยม
ทั้งนี้ บำนาญต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือน เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
เงินบำเหน็จบำนาญ ไม่เป็นสมาชิก กบข.
เงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X ปีเวลาราชการ
เงินบำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X ปีเวลาราชการ หาร ๕๐
(หากเศษเดือนของเวลาราชการเกิน 6 เดือน เวลาราชการจะปัดขึ้นเป็น 1 ปี)
หมายเหตุ เงินบำนาญอย่างสูงไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย

2. เงินบำเหน็จดำรงชีพ

    เงินบำเหน็จดำรงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพการคำนวณ เงินบำเหน็จดำรงชีพ = เงินบำนาญ x 15 เท่า
    2.1 ผู้รับเงินบำนาญที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิขอรับได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
    2.2 ผู้รับเงินบำนาญอายุ 65 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 70 ปี ให้มีสิทธิขอรับได้ไม่เกิน 400,000 บาท แต่ถ้าใช้สิทธิ ตามข้อ 2.1 ไปแล้ว ให้ขอรับได้ไม่เกิน ส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 400,000 บาท
    2.3 ผู้รับเงินบำนาญอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปให้มีสิทธิขอรับได้ไม่เกิน 500,000 บาทแต่ถ้าใช้สิทธิตามข้อ 2.1 และ 2.2 ไปแล้ว ให้ขอรับได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
ตัวอย่าง นายสมชาย ได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 35,000 บาท (35,000 บาท x ๑๕ เท่า = 525,000 บาท) จะได้รับเงิน ดังนี้อายุ 60 ปี ได้รับเงิน 200,000 บาทอายุ 65 ปี ได้รับเงิน 200,000 บาทอายุ 70 ปี ได้รับเงิน 100,000 บาท เงินที่เหลือ 25,000 บาท นำไปรวมเป็นเงินตกทอดให้ทายาท (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงินบำนาญ ที่ได้รับ)

3. เงิน กบข.

    เงิน กบข. (กรณีเป็นสมาชิก) เป็นเงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินประเดิม(ถ้ามี) เงินชดเชย เงินสะสม เงินสมทบและเงินจากผลประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ ที่ทาง กบข. จัดให้ ซึ่งผู้รับบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. สามารถตรวจสอบได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้รับทราบในทุกสิ้นปี หรือสอบถามไปโดยตรงที่กองทุน กบข.(https://www.gpf.or.th/Index.php) หรือแอปพลิเคชัน my GPF หรือศูนย์บริการข้อมูลสมาชิก โทร ๑๑๗๙

4. สิทธิรักษาพยาบาล

    สิทธิรักษาพยาบาล ผู้รับเงินบำนาญมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้เช่นเดียว กับข้าราชการผู้มีสิทธิ ได้แก่ ข้าราชการ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัวที่ชอบด้วยกฎหมาย (บุตรไม่รวมบุตรบุญธรรม ได้สิทธิ 3 คน อายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง คู่สมรสตามกฎหมาย บิดาและมารดา) “ค่าตรวจสุขภาพประจำปี” เบิกได้เฉพาะผู้มีสิทธิ ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการ และผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ไม่รวมถึงบุคคลในครอบครัวตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด และสิทธิรักษาพยาบาลจะสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าของสิทธิ์เสียชีวิต

5. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร

    เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ผู้รับเงินบำนาญมีสิทธิ นำเงินบำรุงการศึกษาหรือเงินค่าเล่าเรียนของบุตร โดยชอบด้วยกฎหมาย มาเบิกกับทางราชการได้เช่นเดียวกับข้าราชการ บุตร หมายถึง บุตรชอบด้วยกฎหมายอายุครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม และบุตรซึ่งบิดามารดา ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น และเป็นบุตรคนที่ 1 – 3 โดยนับเรียงลำดับการเกิดก่อนหลังไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด และอยู่ใน ความปกครองของใคร

6. ยกเว้นเงินได้เสียภาษี 190,000 บาท

    ข้าราชการบำนาญที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ได้รับรวมกันไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษี

7. เงินทุนสวัสดิการสมาชิกสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน กรณีเกษียณอายุ

    เงื่อนไขการรับเงินจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเป็นสมาชิก ดังนี้
    เวลาการเป็นสมาชิก 10 - 15 ปี จะได้รับเงิน 10,000 บาท
    เวลาการเป็นสมาชิก 15 - 20 ปี จะได้รับเงิน 20,000 บาท
    เวลาการเป็นสมาชิก 20 - 25 ปี จะได้รับเงิน 30,000 บาท
    เวลาการเป็นสมาชิก 25 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 40,000 บาท

8. การกู้เงินบำเหน็จตกทอด

    ผู้รับเงินบำนาญ สามารถนำสิทธิ์ในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ โดยติดต่อหน่วยเบิกจ่ายเงินบำนาญพร้อมหลักฐานการขอรับหนังสือรับรองสิทธิฯ ดังนี้
    8.1 แบบคำร้องขอรับหนังสือรับรองสิทธิ ในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
    8.2 หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินบำเหน็จตกทอดไม่ไช่ทายาท ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอด ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
    การคำนวณ
    เงินบำนาญ + เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ชคบ.) (ถ้ามี) x 30 เท่า - บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับ = บำเหน็จตกทอดคงเหลือ
    ตัวอย่าง สมหญิงอายุ 64 ปี ได้รับเงินบำนาญ 30,000 บาท ไม่มีเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ชคบ.) ได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพครั้งที่ 1 ไปแล้ว 200,000 บาท ฉะนั้น ยอดที่สามารถกู้ได้คือ 30,000 บาท x 30 เท่า - 200,000 บาท = 700,000 บาท

สถานที่มาติดต่อ

1. การขอรับเงินช่วยพิเศษกรณีข้าราชการหรือข้าราชการบำนาญถึงแก่ความตาย/ขอรับเงินบำเหน็จตกทอดให้ทายาท/ยื่นเอกสารการกู้เงินที่ใช้เงินบำเหน็จตกทอดค้ำประกัน
    - ส่วนกลาง ติดต่อที่กลุ่มการเงิน กองคลัง โทร. 02-5794441 หรือ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1256
    - ส่วนภูมิภาค ติดต่อที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ต้นสังกัดที่เกษียณ
2. การขอรับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ (กรณีเป็นสมาชิก) กรมพัฒนาที่ดิน ติดต่อกลุ่มสวัสดิการฯ กองการเจ้าหน้าที่ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1366
3. การขอรับเงินสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน (กรณีเป็นสมาชิก) ติดต่อสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 02-9412391 หรือ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1341, 1261

สวัสดิการ

1. การลา
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
2.เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
3. เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544
4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 – 2566
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564

ประโยชน์เกื้อกูล

    ประโยชน์เกื้อกูล คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ข้าราชการ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล ได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550

1. กรณีลูกจ้างประจำที่จะเกษียณอายุราชการ/ลาออก

1.1 เงินบำเหน็จปกติ = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ (เป็นจำนวน เดือน) หารด้วย 12 หรือ
1.2 เงินบำเหน็จรายเดือน = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ (เป็นจำนวนเดือน) หารด้วย 12 หาร 5
หมายเหตุ : ลูกจ้างประจำที่สามารถเลือกรับบำเหน็จรายเดือน (ต้องมีอายุราชการปกติรวมกับทวีคูณตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป)
    - ในกรณีเลือกรับบำเหน็จรายเดือน ทายาทมีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จตกทอด 15 เท่า ของเงินบำเหน็จรายเดือน ถ้าลูกจ้างประจำผู้นั้นเสียชีวิต
    - เงินตกทอดให้ทายาทสามารถนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้

2.การกู้เงินบำเหน็จตกทอด

เงินบำนาญ
    ผู้รับบำเหน็จรายเดือน สามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักทรัพย์ ในการค้ำประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ โดยติดต่อหน่วยเบิกจ่าย บำเหน็จรายเดือนพร้อมหลักฐานการขอรับหนังสือรับรองสิทธิฯ ดังนี้
2.1 แบบคำร้องขอรับหนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็น หลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
2.2 หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด (ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จราย เดือนลูกจ้างประจำ)
วิธีคำนวณ บำเหน็จรายเดือน x 15 เท่า = บำเหน็จตกทอด

3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (กสจ).

= เงินสะสม + สมทบ + ผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว (กรณีเป็นสมาชิก กสจ.)

4. ยกเว้นเงินได้เสียภาษี 190,000 บาท.

ผู้ที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ได้รับรวมกันไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษี

5. กรณีเสียชีวิตในระหว่างรับราชการ

5.1 เงินบำเหน็จปกติให้แก่ทายาท ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ (เป็นจำนวนเดือน) หารด้วย 12 เช่น ค่าจ้างเดือนสุดท้าย 18,000 บาท มีเวลาราชการ 38 ปี 7 เดือน วิธีคำนวณ 18,000 x (38 x 12) + 7 หาร 12 = 694,500 บาท(จ่ายเป็นเงินก้อนเดียว) มอบให้กับทายาทตามกฎหมาย บิดา มารดา คู่ สมรส บุตรหรือผู้ที่แสดงเจตนาไว้
5.2 เงินช่วยพิเศษ (ค่าทำศพ) = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x 3 เท่า มอบให้แก่
    1.) ผู้ที่แสดงเจตนาไว้
    2.) คู่สมรส
    3.) บุตร
    4.) บิดา มารดา
5.3 ได้รับเงินช่วยค่าทำศพจากสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน 40,000 บาท (กรณีเป็นสมาชิก) * ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564
5.4 ได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์กรมพัฒนาที่ดิน (กรณีเป็นสมาชิก)
    วิธีคำนวณ คือ 20 x จำนวนสมาชิก = เงินฌาปนกิจสงเคราะห์กรมพัฒนาที่ดิน (ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิก ณ เวลาที่สมาชิกเสียชีวิต)
5.5 มีสิทธิขอพระราชทานเพลิงศพ (กรณีได้รับเครื่องราชฯ 1 ชั้น ขึ้นไป)

6. กรณีลูกจ้างประจำเกษียณฯ รับบำเหน็จรายเดือนเสียชีวิต

6.1 เงินบำเหน็จตกทอด = บำเหน็จรายเดือน x 15 เท่า มอบให้แก่ทายาทตามกฎหมาย บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือผู้แสดง เจตนาไว้
6.2 ได้รับเงินช่วยค่าทำศพจากสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน 40,000 บาท (กรณีเป็นสมาชิก) * ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564
6.3 ได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์กรมพัฒนาที่ดิน (กรณีเป็นสมาชิก)วิธีคำนวณ 20 x จำนวนสมาชิก = เงินฌาปนกิจสงเคราะห์กรมพัฒนาที่ดิน(ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิก ณ เวลาที่สมาชิกเสียชีวิต)
6.4 ขอพระราชทานเพลิงศพ (กรณีได้รับเครื่องราชฯ ๑ ชั้น ขึ้นไป)

สถานที่ที่มาติดต่อ

1. ผู้รับบำเหน็จรายเดือนสามารถติดต่อได้ดังนี้
- กรณีเกษียณส่วนกลางให้ติดต่อกลุ่มการเงิน กองคลัง โทร. 02-5794441 หรือ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1256
- กรณีเกษียณเกษียณส่วนภูมิภาคให้ติดต่อที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตต้นสังกัดที่เกษียณ
2. การขอรับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ (กรณีเป็นสมาชิก) กรมพัฒนาที่ดิน ติดต่อกลุ่มสวัสดิการฯ กองการเจ้าหน้าที่ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1366
3. การขอรับเงินสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน (กรณีเป็นสมาชิก) ติดต่อสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 02-9412391 หรือ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1341, 1261

สวัสดิการ

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566
ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2562 ฉบับที่ 3 สิทธิได้รับกองทุนเงินทดแทน
ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2560 ฉบับที่ 2 การสะสมวันลาพักผ่อน
ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 และแบบ คพร. สป. 1 - สป. 2
ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554
ระเบียบกรมพัฒนาที่ดินว่าด้วยการกำหนดวันลา และวันมาทำงานสายของพนักงานราชการประเภททั่วไป พ.ศ. 2550

เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 – 2566
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564

1. กรณีพนักงานราชการที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์

มีสิทธิได้รับบำเหน็จ/บำนาญชราภาพ จากสำนักงานประกันสังคม กรณีความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้
1.1 กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวนเท่ากับยอดเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบเท่านั้น
1.2 กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างนำส่ง พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงาน ประกันสังคมประกาศกำหนด (ยอดเงินสมทบนำส่ง + เงินสมทบ นายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน)
1.3 กรณีจ่ายเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ ๒๐ ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน (5 ปี) สุดท้าย เพดานเงินเดือนสูงสุดที่ใช้ในการคำนวณคือ 15,000 บาท และ หากจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะได้รับอัตราการคำนวณเงิน บำนาญจะปรับเพิ่มร้อยละ 1.5 ทุกปี
คำนวณตามสูตร เงินบำนาญรายเดือน = {[20+(1.5*(t-15))]*w}/100w = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดย t = ระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบกรณีชราภาพ ทั้งนี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลและเงื่อนไขได้ที่ https://www.sso.go.th โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน

2. ยกเว้นเงินได้เสียภาษี 190,000 บาท

ผู้ที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ได้รับรวมกันไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษี

3. กรณีเสียชีวิตในระหว่างเป็นสมาชิกประกันสังคม

3.1 มีสิทธิขอพระราชทานเพลิงศพ (กรณีได้รับเครื่องราชฯ 1 ชั้น ขึ้นไป)
3.2 ได้รับเงินช่วยค่าทำศพจากสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน 40,000 บาท (กรณีเป็นสมาชิก) * ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564
3.3 ได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์กรมพัฒนาที่ดิน (กรณีเป็นสมาชิก) วิธีคำนวณ 20 x จำนวนสมาชิก = เงินฌาปนกิจสงเคราะห์กรมพัฒนาที่ดิน (ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิก ณ เวลาที่สมาชิกเสียชีวิต)
3.4 สิทธิกองทุนประกันสังคม
    3.4.1 ผู้จัดการศพสามารถขอรับเงินค่าทำศพได้ จำนวน 50,000 บาท
    3.4.2 เงินสงเคราะห์จ่ายให้บุคคลที่มีชื่อระบุอยู่ในหนังสือสิทธิให้ ได้รับเงิน หากไม่มีหนังสือระบุไว้ต้องนำมาเฉลี่ยให้ บิดา มารดา คู่ สมรส หรือบุตร ในจำนวนที่เท่ากันซึ่งสามารถขอรับได้ภายใน ระยะเวลา 2 ปี โดยจ่าย ดังนี้
        - ก่อนเสียชีวิต ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบในกองทุน จำนวน 36 เดือน ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 120 เดือนจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
        - ก่อนเสียชีวิต ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบในกองทุน จำนวน 120 เดือนขึ้นไปจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
3.5 สิทธิกองทุนทดแทน กรณีเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างเป็นเวลา 10 ปี มอบให้แก่ทายาทตาม กฎหมายในจำนวนเท่ากัน ได้แก่
    3.5.1 บิดา มารดา คู่สมรส
    3.5.2 บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจนกว่าจะ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
    3.5.3 บุตรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หากอยู่ระหว่างศึกษาในระดับที่ไม่ สูงกว่าปริญญาตรี ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจนกว่าจะจบการศึกษา ระดับปริญญาตรี
    3.5.4 บุตรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และทุพพลภาพหรือจิตฟั่นเฟือนที่ อยู่ในการอุปการะของผู้เสียชีวิต
    3.5.5 บุตรที่เกิดใน 310 วัน หลังจากลูกจ้างตาย เริ่มได้รับสิทธิ ตั้งแต่วันที่คลอดถึงระดับปริญญาตรี

สถานที่ที่มาติดต่อ

1. การขอรับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ (กรณีเป็นสมาชิก) กรมพัฒนาที่ดิน ติดต่อกลุ่มสวัสดิการฯ กองการเจ้าหน้าที่ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1366
2. การขอรับเงินสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน (กรณีเป็นสมาชิก) ติดต่อสหกรณ์กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 02-9412391 หรือ Call Center โทร. 1760 ต่อ 1341, 1261

กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน

2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-941-2142
E-Mail : psd_2@ldd.go.th

สงวนลิขสิทธิ์ ©2566 โดยกองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน
Design by กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน